ขี้เหล็ก

ชื่อสมุนไพร

ขี้เหล็ก

ชื่อวิทยาศาสตร์

Senna siamea (Lam.) H.S.Irwin et Barneby

ข้อบ่งใช้บนหลักฐานเชิงประจักษ์ในคน

  • ใบอ่อนหรือดอกตูมช่วยให้นอนหลับ และช่วยระบายอ่อน ๆ

           *ข้อมูลจากการใช้สมุนไพรพื้นบ้าน, แนะนำให้ใช้

  • ใช้ยอดอ่อน ใบ และดอก ลวกน้ำทิ้ง แล้วต้มจิ้มน้ำพริกกิน ช่วยเจริญอาหาร

           *ข้อมูลจากการใช้สมุนไพรพื้นบ้าน, แนะนำให้ใช้

  • สำหรับช่วยให้นอนหลับ ใช้ใบอ่อนและดอกตูมแห้ง 150 กรัม เติมเหล้าโรงพอท่วม แช่ทิ้งไว้ 5 - 7 วัน คนบ่อย ๆ กรองกากออก ดื่มครั้งละ 1 - 2 ช้อนชา ก่อนนอน

          *ข้อมูลจากการใช้สมุนไพรพื้นบ้าน, แนะนำให้ใช้

  • เป็นส่วนประกอบใน
    • ตำรับยาถ่ายดีเกลือฝรั่ง (ขี้เหล็กทั้ง 5)
    • ตำรับยาเบญจขันธ์ (ขี้เหล็กทั้ง 5) สำหรับระบาย
    • ตำรับยาผายโลหิต (ขี้เหล็กทั้ง 5) สำหรับแก้ประจำเดือนมาไม่ปกติ
    • ตำรับยาน้ำมันสมานแผล (ใบขี้เหล็ก) สำหรับสมานแผล ใช้ในกรณีแผลสดหรือแผลเน่าเปื่อย แก้อาการปวดแสบปวดร้อนอันเกิดจากแผลเปื่อย
    • ตำรับยาบำรุงสตรี (แก่นขี้เหล็ก)
    • ตำรับยาริดสีดวงทางเดินปัสสาวะ สำหรับบรรเทาอาการขัดเบา

            *ข้อมูลจากตำรายาแผนไทย, แนะนำให้ใช้ในระยะสั้น

This Section for Subscription Only
+ ข้อควรระวัง
+ อันตรกิริยากับยา
+ ปรึกษากับอาจารย์มยุรี

เอกสารอ้างอิง

  1. Hongsirinirachorn M, Threeprasertsuk S, Chutaputti A. Acute hepatitis associated with Barakol. J Med Assoc Thai. 2003;86 Suppl 2:S484-9.
  2. Padumanonda T, Gritsanapan W. Barakol contents in fresh and cooked Senna siamea leaves. Southeast Asian J Trop Med Public Health. 2006;37(2):388-93.
  3. Sakulpanich A, Gritsanapan W. Laxative anthraquinone contents in fresh and cooked Senna siamea leaves. Southeast Asian J Trop Med Public Health. 2009;40(4):835-9.
  4. กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข. รายการตำรับยาแผนไทยแห่งชาติ ฉบับ พ.ศ.2564. กรุงเทพฯ: บริษัท สามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพ) จำกัด; 2564.
Herbalexpertbymayuree Application
Copyright © 2020 by M.Tangkiatkumjai
Visitors : 154605